Solar Cell 1 กิโลวัตต์ (ขนาดแผงโซลาร์ 120 X 60 เซนติเมตร จำนวน 10 แผง) ผลิตไฟฟ้าได้ 1,300kwh/yr (หน่วยต่อปี)
การคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกGHG emissions = Activity Data x Emission Factor
= 1,300 kWh x 0.6933 kgCO2e/kWh
= 901.3 kgCO2e
ดังนั้น สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 901.3 kgCO2e ต่อปี หรือเทียบเท่ากับการปลูกต้นไม้ประมาณ 101 ต้น
(การปลูกต้นไม้ยืนต้น 1 ต้น สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 8 กิโลกรัมต่อปี)
ด้วยเทคโนโลยีตอนนี้ สามารถทำได้ แต่ยังไม่คุ้ม เราสามารถใช้แบตเตอรี่เก็บพลังงานไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ไว้ใช้ตอนกลางคืนได้ ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องการติดตั้งระบบที่พึ่งพาตัวเอง 100% ก็ต้องติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์มากขึ้น เพื่อให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอต่อความต้องการ โดยกักเก็บไฟไว้ในแบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่พอ เหมือนถ้าเราเป็นคนใช้มือถือหนักมาก และต้องการใช้งานทั้งวัน ก็ต้องใช้พาวเวอร์แบงค์ขนาดใหญ่ อย่างไรก็ดี ราคาแบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟฟ้าขนาดใหญ่ยังมีราคาสูงมากอยู่
การผลิตแผงโซลาร์เซลล์ในปัจจุบันนิยมใช้ซิลิคอน (Si) ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นวัสดุสำคัญในการผลิตแแผงโซลาร์เซลล์ นอกจากนี้ยังมีวัสดุอื่น ๆ ที่สามารถนำมาผลิตโซลาร์เซลล์ได้ เช่น แกลเลียมอาร์เซไนด์ (Gallium Arsenide), อินเดียมฟอสไฟด์ (Indium Phosphide), แคดเมียมเทลเลอไรด์ (Cadmium Telluride) และคอปเปอร์ อินเดียมไดเซเลไนด์ (Copper Indium Diselenide) เป็นต้น แผงโซลาร์เซลล์ประกอบด้วย 2 เลเยอร์ คือ N-Type คือ แผ่นซิลิคอน ที่ผ่านกระบวนการโดปปิ้งด้วยสารฟอสฟอรัส ทำให้มีคุณสมบัติเป็นตัวส่งอิเล็กตรอนเมื่อได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ P-Type คือ แผ่นซิลิคอนที่ผ่านกระบวนการโดปปิ้งด้วยสารโบรอน ทำให้โครงสร้างของอะตอมสูญเสียอิเล็กตรอน (โฮล) เมื่อได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ จะมีคุณสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอน เมื่อนำซิลิคอนทั้ง 2 ชนิด มาประกบต่อกันด้วย p - n junction จึงทำให้เกิดเป็น “โซลาร์เซลล์” หลักการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์ คือ เมื่อมีแสงอาทิตย์ตกกระทบ แสงอาทิตย์จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอนและโฮล ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น โดยอิเล็กตรอนก็จะเคลื่อนไหวไปรวมตัวกันที่ Front Electrode และโฮลก็จะเคลื่อนไหวไปรวมตัวกันที่ Black Electrode และเมื่อมีการเชื่อมต่อระบบจนครบวงจรขึ้น ก็จะเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าให้เราสามารถนำไปใช้งานได้
แผงโซลาร์เซลล์ที่อยู่ในตลาดปัจจุบันมีอยู่ 3 ประเภท คือ
1. แผงโซลาร์เซลล์โมโนคริสตัลไลน์ (Monocrystalline Silicon Solar Cells) ทำมาจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าได้ดีที่สุด เป็นผลึกซิลิคอนเชิงเดี่ยว (mono-Si) หรือบางทีก็เรียกว่า Single Crystalline (single-Si) มีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 20% ขึ้นไป มีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี แต่มีราคาที่ค่อนข้างแพง
2. แผงโซลาร์เซลล์โพลีคริสตัลไลน์ (Polycrystalline Silicon Solar Cells) ทำมาจากผลึกรวมจากซิลิคอนบริสุทธิ์รวมถึงแท่งซิลิคอนที่เหลือทิ้งจากการผลิต นำมาหลอมรวมในเบ้าสี่เหลี่ยม หลังจากนั้นนำมาตัดเป็นแผ่น ๆ (Wafer) แต่ละเซลล์เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ไม่มีการตัดมุม ทำให้มีราคาถูกกว่าแบบผลึกเดี่ยว โดยทั่วไปเรียกว่า ผลึกรวมหรือโพลีคริสตัลไลน์ (polycrystalline, p-Si) แต่บางครั้งก็เรียกว่า มัลติ-คริสตัลไลน์ (multi-crystalline, mc-Si) แผงชนิดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในพื้นที่เขตร้อน เช่น ประเทศไทย และประเทศในภูมิภาคอาเซียน เช่น ฟิลิปปินส์ นิยมนำมาใช้งานแบบกลางแจ้งที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ เช่น โซลาร์ฟาร์ม, solar PV rooftop system แผงประเภทนี้มีราคาถูกกว่าโมโนคริสตัลไลน์ และมีประสิทธิภาพในการใช้งานในที่อุณหภูมิสูงดีกว่าชนิดโมโนคริสตัลไลน์เล็กน้อย มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน 20 ปี ขึ้นไป มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 15% ซึ่งต่ำกว่า เมื่อเทียบกับชนิดโมโนคริสตัลไลน์
3. แผงโซลาร์เซลล์ชนิดอะมอร์ฟัส (Amorphous silicon : a-Si) หลักการโดยทั่วไป คือ การนำเอาสารที่สามารถแปลงพลังงานจากแสงเป็นกระแสไฟฟ้า มาฉาบเป็นฟิล์มหรือชั้นบาง ๆ ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น เช่น สารประกอบซิลิคอนและสารอื่น ๆ ที่อยู่ในสถานะก๊าซมาเคลือบเป็นฟิล์มบางบนแผ่นฐาน เช่น แก้วหรือพลาสติก จึงเรียกโซลาร์เซลล์ชนิดนี้ว่า ฟิล์มบาง หรือ Thin film ปัจจุบันแผ่นโซลาร์เซลล์ชนิดฟิล์มบางมีพัฒนาการด้านการผลิตมากมายหลายแบบ และสามารถนำไปใช้ในอุปกรณ์ได้หลากหลาย และสามารถใช้สารประกอบที่ไม่ใช่ซิลิคอน เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดแคดเมียมเทลลูไรด์ (Cadmium Telluride, CdTe) เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดคอปเปอร์อินเดียมแกลเลียมเซเลไนด์ (Copper Indium Gallium Selenide, CIGS) และเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดแกลเลียมอาเซไนด์ (Gallium Arsenide, GaAs) เป็นต้น มีราคาถูกกว่า เพราะสามารถผลิตจำนวนมากได้ง่ายกว่าชนิดผลึกซิลิคอน และใช้งานหลากหลาย แต่ประสิทธิภาพต่ำประมาณ 7 - 10 %, แผงโซลาร์เซลล์ชนิดนี้มีประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำ นิยมนำมาใช้งานในแก็ดเจ็ตขนาดเล็ก เช่น เครื่องคิดเลข และนาฬิกา นอกจากนี้ยังมีแผงโซลาร์เซลล์ชนิดใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจและอยู่ในขั้นทดลองคือ แผงโซลาร์เซลล์ชนิด Perovskite ทำจากวัสดุนาโนฟอสโฟรัส หรือที่รู้จักกันในชื่อฟอสฟอรีนเป็นองค์ประกอบสำคัญของแผงโซลาร์เซลล์ชนิด Perovskite มีคุณสมบัติในการดูดกลืนแสงได้ดี ราคาถูก และผลิตได้ง่ายกว่าแผงโซลาร์เซลล์แบบซิลิคอน คาดการณ์ประสิทธิภาพอยู่ที่ 22%
ติดตั้งแผงโดยหันไปทางทิศใต้ และทำมุมเอียง 10 - 15 องศา อย่างไรก็ตาม สำหรับระบบใหญ่ขนาด MWp ขึ้นไปอาจติดตั้งระบบ Solar auto tracking คือตัวเอียงองศาแผ่นโซลาร์เซลล์อัตโนมัติ จะได้ไฟเพิ่มขึ้น 25% นอกจากนี้ ระบบใหญ่ที่ติดตั้งบนดินอาจใช้แผงโซลาร์เซลล์แบบ Bifacial เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับแสง แผงแบบ Bifacial ใช้หลักการในการรับแสงทั้งโดยตรงและการสะท้อนแสงของพระอาทิตย์
ปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้ประเทศต่าง ๆ จริงจังกับการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ มีหลากหลาย เช่น นโยบายการลด Greenhouse gas หรือค่าไฟฟ้า เป็นต้น
- ประเทศเยอรมนีตั้งเป้าหมายใช้พลังงานหมุนเวียนผลิตไฟฟ้าปริมาณ 65% ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 และ 100% ของกำลังไฟฟ้าทั้งหมดในปี ค.ศ. 2050
(https://www.reuters.com/article/us-germany-electricity-climate/germany-needs-to-ease-rules-to-hit-2030-renewables-target-idUSKCN1TJ20C, https://sustainabledevelopment.un.org/index.php?page=view&type=99&nr=24&menu=1449)
- ประเทศออสเตรเลีย จำนวนครัวเรือนประมาณ 20% ของครัวเรือนทั้งหมดมีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้า (https://www.cleanenergycouncil.org.au/resources/technologies/solar-energy)
ภายในประเทศ ภาคอุตสาหกรรมติดโซลาร์เซลล์กันเยอะขึ้นเรื่อย ๆ ดูได้จากแนวโน้มการเติบโตของ IPS ที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 17% ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 - 2018
เนื่องจากต้นทุนการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์มีราคาที่ถูกลงในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา ทำให้แนวโน้มการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เติบโตอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ตลาดโซลาร์เซลล์ประเภทครัวเรือนมีปริมาณการติดตั้งเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 4 ของปี ค.ศ. 2018 ซึ่งนับว่าเป็นปีแห่งการฟื้นตัวของตลาดโซลาร์เซลล์ภาคครัวเรือนและได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 7% โดยมีจำนวนการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์จากกลุ่มนี้เพิ่มขึ้น 314,600 ระบบในปี ค.ศ. 2018 นอกจากนี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย ยังเป็นรัฐแรกของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ได้ออกผลบังคับใช้ให้บ้านและอาคารอะพาร์ตเมนต์ใหม่ที่สร้างขึ้นหลังจากวันที่ 1 มกราคม ปี ค.ศ. 2020 ต้องติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ด้วย ในประเทศเยอรมนี ถือเป็นตลาดโซลาร์เซลล์ที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป นโยบายขับเคลื่อนหลักที่สำคัญคือ นโยบายการผลิตเพื่อใช้เอง (Self-consumption) และนโยบายรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในอัตราพิเศษ (Feed-in Premium) สำหรับกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ จากข้อมูลรายงานประจำปี (REN21, 2018) ในสิ้นปี ค.ศ. 2018 ประเทศเยอรมนีมีระบบโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งแล้วมากกว่า 1.7 ล้านระบบ โดยเฉพาะกลุ่มบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาแล้วกว่า 1 ล้านหลังคาเรือน นอกจากนี้ คาดการณ์ว่าจะมีระบบโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งพร้อมระบบกักเก็บพลังงานประมาณ 120,000 ระบบ เปิดใช้งานภายในสิ้นปี ค.ศ. 2018 และตั้งเป้าติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานอีกประมาณ 200,000 ระบบในอีก 2 ปีข้างหน้า สำหรับในแถบเอเชีย ประเทศจีนถือเป็นประเทศที่ตลาดโซลาร์เซลล์มีการเติบโตมากที่สุด โดยกำลังการผลิตติดตั้งสะสมของระบบโซลาร์เซลล์คิดเป็น 27.1 % ของการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ทั้งหมดในประเทศจีน โดยรัฐบาลจีนมีนโยบายขับเคลื่อนการเติบโตของระบบโซลาร์เซลล์ในประเทศ เช่น นโยบายเงินอุดหนุนโครงการโซลาร์ (Solar subsidy) อัตราเงินอุดหนุนและระยะเวลาแตกต่างกันไปตามระดับภูมิภาค อัตราเงินอุดหนุนในท้องถิ่นอยู่ในช่วงระหว่าง 0.05 - 0.55 หยวน/kWh (0.0077 - 0.0846 USD/kWh) ในระยะเวลา 2 - 20 ปี และสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับ
ผู้ลงทุน
นอกจากนี้ สำนักบริหารจัดการพลังงานแห่งชาติจีนได้ริเริ่มโครงการนำร่องในการซื้อขายแบบ peer-to-peer ของการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ซึ่งอาจเป็น win-win สำหรับทั้งผู้ผลิตไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้า
ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่ใช้พลังงานโซลาร์มากที่สุด
ในโลกและเป็นประเทศที่ให้ความสนใจเรื่องการใช้พลังงานโซลาร์อย่างมาก โดยมากกว่า 21% ของหลังคาบ้านเรือนติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ หรือประมาณ 2.21 ล้านระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคา
ที่ติดตั้งแล้วทั่วประเทศออสเตรเลีย ในปี ค.ศ. 2018 ที่ผ่านมารัฐบาลออสเตรเลียออกประกาศเตรียมสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้บ้าน จำนวนกว่า 50,000 หลังคาเรือนทางรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ติดตั้งแผงพลังงานโซลาร์เซลล์เชื่อมกับแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ของเทสลา เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับบ้านเรือนประชาชนได้ประโยชน์จากบิลค่าไฟที่จะลดลง และให้ประชาชนมีรายได้จากการขายพลังงานไฟฟ้าให้กับหน่วยงานรัฐ โดยตั้งเป้าติดตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี โดยจะเริ่มต้นจาก 1,100 หลังคาเรือนก่อน ซึ่งแต่ละหลังจะผลิตพลังงานไฟฟ้าเข้าสู่แบตเตอรี่ของเทสลาได้ 5 กิโลวัตต์ โดยงบประมาณที่รัฐบาลจะนำมาใช้ในโครงการนี้ จะมาจากงบประมาณ 2 ล้านเหรียญออสเตรเลีย และเป็นการกู้เงินจากกองทุนเทคโนโลยีที่มีรายได้จากการเก็บภาษีจากประชาชนอีก 30 ล้านเหรียญออสเตรเลีย
นอกจากนี้ รัฐบาลออสเตรเลียยังมีโครงการสนับสนุนทางการเงินหรือเรียกว่าโครงการ Small scale renewable scheme (SRES) สำหรับครัวเรือนและธุรกิจขนาดเล็กที่ติดตั้งระบบพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก (เช่น พลังงานโซลาร์ พลังงานลม) ได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงินภายใต้โครงการนี้ เพื่อช่วยค่าใช้จ่ายในการลงทุนติดตั้งจนถึงปี ค.ศ. 2030
รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นรัฐแรกของสหรัฐอเมริกาที่ออกข้อบังคับให้บ้านที่สร้างใหม่ต้องติดแผงโซลาร์เซลล์ทุกหลัง โดยข้อบังคับนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ปี ค.ศ. 2020 นำไปใช้กับบ้านครอบครัวเดี่ยว (Single-family homes) และบ้านหลายครอบครัว (Multi-family homes) เช่น บ้านที่มีสามชั้นขึ้นไป
การสนับสนุนในปัจจุบัน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัย หากต้องการขายคืนสามารถเข้าร่วมโครงการโซลาร์ประชาชน โดยขายคืนให้กับการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในราคา 1.68 บาทต่อหน่วย มีระยะเวลารับซื้อไฟฟ้ารวม 10 ปี สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ แต่ไม่สามารถขายไฟฟ้าคืนได้
ถ้าสนใจขายคืนการไฟฟ้าฯ แนะนำให้สมัคร “โครงการโซลาร์ภาคประชาชน” โดยยื่นคำขอขายไฟฟ้าผ่านระบบ Online ของ
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) https://ppim.pea.co.th และ
การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) https://spv.mea.or.th หรือสอบถามที่หน่วยงานได้โดยตรง
ข้อมูลเป็น background: พื้นที่ดำเนินการของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มี 3 จังหวัด ได้แก่ กทม. นนทบุรี และสมุทรปราการ ส่วนอีก 74 จังหวัด การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นผู้ดูแล
ราคารับซื้อ 1.68 บาท เป็นราคาต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 1 หน่วยซึ่งเท่ากับราคาการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าก๊าซ
ในมุมมองของผู้ใช้ไฟฟ้า ความคุ้มค่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันอาจบอกว่าคุ้มค่า ในขณะที่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ไม่มีการใช้ไฟฟ้าช่วงกลางวันอาจบอกว่าไม่คุ้ม อย่างไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบราคารับซื้อ 1.68 บาทกับราคาไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องซื้อจากการไฟฟ้าฯ หน่วยละเกือบ 4 บาทนั้น ราคารับซื้อ 1.68 บาทยังไม่จูงใจ แต่หากมองในมุมรัฐฯ ราคารับซื้อดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟรายอื่น ๆ ที่ไม่ได้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ เนื่องจากโครงสร้างค่าไฟเก่าที่ยังไม่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงของผู้ใช้ไฟฟ้าที่เป็น Prosumer มากขึ้น
ต้องเล่าถึงหน้าที่หลักของ กกพ. ก่อนว่า เขาทำหน้าที่อะไร
1. ออกกฎหมายหรือนโยบายที่ควบคุมกลุ่มผู้ผลิตพลังงาน
2. ทำหน้าที่สื่อสารให้ประชาชนเข้าใจ และนำเรื่องพลังงานทดแทนมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งงบประมาณที่กกพ. ใช้ในกิจกรรมหรือโครงการนี้ ก็เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว ตามมาตรา 97(5) คือ กองทุนกองนี้ต้องนำไปใช้เพื่อการส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมในเรื่องไฟฟ้า ถ้าหากนำงบประมาณไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ เช่น นำเงินไปบริจาคประชาชน หรือนำเงินไปสร้างโรงไฟฟ้าซะเอง จะถือว่าผิดกฎหมายทันที
กองทุนมีทั้งหมด 6 กอง กองที่เราทำงาน Solar คือ 97(5) สำหรับกรณีการนำงบประมาณไปช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้นั้น
ก็มีหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่ทำหน้าที่นี้อยู่ [ถ้ามีข้อมูลสนับสนุนจะดูมีน้ำหนักขึ้น]
วัตถุประสงค์โครงการ
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิในการยื่นเข้าโครงการ
“โซลาร์ภาคประชาชน” ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่สู่สาธารณชนแล้วนั้น ได้มุ่งเน้นสนับสนุนให้ประชาชนผู้ใช้พลังงานประเภทครัวเรือนขนาดเล็กได้ผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) เพื่อใช้เอง และนำส่วนเกินที่เหลือจากการใช้ไปขายต่อให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย (การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
สำหรับโรงงาน การติดตั้งโซลาร์เพื่อลดค่าไฟฟ้าเริ่มจะคุ้มแล้ว เพราะฉะนั้นโรงงานเลือกที่จะติดตั้งกันเองโดยไม่ต้องมีแรงจูงใจก็ได้ แต่สำหรับครัวเรือน การลงทุนยังไม่คุ้มค่ามากนัก เลยต้องอาศัยโครงการที่สร้างแรงจูงใจเพิ่มขึ้น
การติดตั้งโซลาร์โรงงานนั้นมีความคุ้มค่าในการลงทุน เนื่องมาจากอัตราค่าไฟฟ้าของโรงงานมักเป็น TOU ที่ต้องจ่ายทั้งค่าพลังงานและค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand charge) นอกจากนี้ โรงงานมีความสามารถในการเข้าถึงเงินทุน ข้อมูล การประเมินความคุ้มค่าได้มากกว่าภาคประชาชนคนทั่วไป การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในโรงงานนั้นเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ ดูได้จากแนวโน้มการเติบโตของ IPS ที่เติบโตเฉลี่ยปีละ 17% ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008 - 2018
ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมทั้งระบบ 43,253 เมกะวัตต์
ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562
(https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=80&Itemid=116)
ประเด็นการปฏิรูปที่ 5 ส่งเสริมกิจการไฟฟ้าเพื่อเพิ่มการแข่งขัน “กิจการไฟฟ้ามีการแข่งขัน มีการใช้พลังงานทดแทนที่ผลิตและซื้อขายไฟฟ้ากันเองภายในชุมชน และกำหนดรูปแบบโครงสร้างกิจการไฟฟ้าที่เหมาะสมกับแนวโน้ม Prosumer และประเทศ” ประเด็นการปฏิรูปที่ 11 การส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟเสรี “ไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการผลิตไม่ต้องขายให้การไฟฟ้า แต่สามารถขายให้เอกชนและหน่วยงานได้แบบไม่จำกัดปริมาณ และไม่จำกัดเวลาในการสมัคร”
ปัจจุบันเงินลงทุนระบบโซลาร์เซลล์มีราคาที่ถูกลง เนื่องจากราคาแผงโซลาร์เซลล์ที่ถูกลงอย่างต่อเนื่อง ค่าติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ขนาด 5 kW อยู่ที่ประมาณ 280,000 - 300,000 บาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 7,000 หน่วยต่อปี สามารถลดภาระค่าไฟต่อปีได้ 25,000 บาท ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 9 ปี (ในกรณีใช้ไฟฟ้าตอนกลางวัน) และรับประกันอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์ 25 ปี ทั้งนี้ ประสิทธิภาพการทำงานของแผงโซลาร์เซลล์จะลดลง โดยทั่วไปประสิทธิภาพของแผงจะลดลงอยู่ที่ 80% เมื่อเข้าสู่ปีที่ 20 - 25 ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของแผง แต่สำหรับการประเมินความคุ้มค่านี้ใช้อัตราการเสื่อมของประสิทธิภาพแผงอยู่ที่ 0.5% ต่อปี (ตัวเลขอ้างอิงจากงานวิจัย)
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ต้องพิจารณาคือ
1. ต้นทุนค่าบำรุงรักษาประมาณ 0.5% ของต้นทุนการติดตั้งทั้งหมดต่อปี (ตัวเลขอ้างอิงจากการวิจัย)
2. ค่าเสื่อมสภาพและอายุการใช้งานของอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น Inverter (10 - 11 ปี)
3. ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ในแต่ละเดือนอาจจะไม่ตรงตามที่คาดการณ์ไว้ เพราะยังมีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น สภาพแวดล้อม ภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น
(ข้อมูลจาก https://www.smartsme.co.th/content/223789)
ทั้งนี้ ขนาดติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ว่าใช้ไฟเยอะแค่ไหน โดยขนาดกำลังผลิตติดตั้งควรออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้ไฟฟ้า
(ข้อมูลจาก http://www.solartron.co.th/thai/solarpvrooftop)
สามารถเข้าไปประเมินผ่านเว็บไซต์
https://www.sunnydesignweb.com ของค่าย SMA นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมคำนวณสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แต่ต้องดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งในคอมพิวเตอร์คือ โปรแกรม Pvsyst (www.pvsyst.com) เป็นโปรแกรมสำหรับออกแบบ ผลิต และติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ และโปรแกรม SAM (System Advisor Model) เป็นโปรแกรมที่วิเคราะห์ทางการเงิน และจุดคุ้มทุนของการติดตั้งระบบพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น วิเคราะห์ NPV (Net present value), IRR (Internal rate of return), Payback Period เป็นต้น
จากการศึกษาข้อมูลทั้งในและต่างประเทศพบว่า องค์ประกอบโครงสร้างต้นทุนของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถแบ่งได้หลายส่วน แต่สำหรับการศึกษานี้จะแบ่งโครงสร้างต้นทุนออกเป็น 5 ส่วน ดังต่อไปนี้
- แผงเซลล์ของระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Module) คือ ตัวรับแสงอาทิตย์เพื่อแปลงมาเป็นกระแสไฟฟ้า
- อินเวอร์เตอร์ (Inverter) คือ อุปกรณ์แปลงไฟฟ้าจากกระแสตรงเป็นกระแสสลับ
- ระบบไฟฟ้าและโครงสร้างแผง (Balance of Plant : BOP) คือ อุปกรณ์โครงสร้างแผง และอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าต่าง ๆ อาทิเช่น รางเคเบิล สายไฟฟ้า สวิตช์ ระบบมอนิเตอร์ ฯลฯ
- วิศวกรรม, ค่าจ้าง/แรงงาน, โยธา (Engineer, Procure, Construct : EPC) คือ ค่าจ้างในการออกแบบ ค่าที่ปรึกษาฯ วิศวกร ค่าแรงงานในการก่อสร้างและติดตั้งระบบไฟฟ้า และการเตรียมพื้นที่โครงการ การวางรากฐาน/โครงสร้าง รวมถึงสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในส่วนประกอบข้างต้น เช่น ค่าใช้จ่ายของเจ้าของโครงการ (Project’s Owner) หรือผู้พัฒนาโครงการ (Project Developer) เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (Project Feasibility Study) การศึกษาด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการขอใบอนุญาตต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
ขนาดโซลาร์เซลล์ตามท้องตลาดที่นิยมติดกันอยู่ที่ประมาณ 3 kWp ขึ้นไป และเพื่อความคุ้มค่าในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ควรติดตั้งขนาดของระบบไม่สูงไปกว่าค่าความต้องการกำลังไฟฟ้าฐานในช่วงกลางวัน (ฺbase Load) เพราะจะทำให้ผู้ติดตั้งสามารถใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์จะมีต้นทุนคงที่ เช่น ค่าแรงติดตั้งระบบ เป็นต้น ซึ่งต้นทุนดังกล่าวไม่แปลตามขนาด ดังนั้น ขนาดโซลาร์เซลล์ต่ำกว่า 3 kWp ก็ติดตั้งได้เช่นกัน แต่ต้นทุนเฉลี่ยต่อ kWp ก็จะสูงขึ้น
ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทที่ติดตั้ง
ธนาคารกสิกรไทยภายใต้ความร่วมมือกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ในโครงการ PEA Solar Hero Application สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนจากแสงอาทิตย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ออกสินเชื่อเพื่อการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป สามารถดูรายละเอียดสินเชื่อได้ที่ https://kasikornbank.com/th/promotion/Pages/HomeloanPEA.aspx หรือรายละเอียดเพิ่มเติมจากแอปพลิเคชัน PEA Solar Hero หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ Call Center PEA Solar Hero Application โทร. 02-7254955
อย่างไรก็ตาม กกพ. กำลังพิจารณาสินเชื่อเพื่อสนับสนุนปัจจัยด้านต้นทุนในการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ให้กับประชาชน
ค่าบำรุงรักษา เช่น ค่าทำความสะอาดแผง ค่าเปลี่ยน Inverter เป็นต้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งานและชนิดอุปกรณ์ที่เลือกใช้
แบ่งเป็น 3 ส่วน
ตัวเรา
- พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้จากโซลาร์เซลล์ สามารถแปลงเป็นไฟฟ้าไว้ใช้ในบ้านได้ เพียงแค่ติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคา หรือบริเวณที่ได้รับแสงแดดตลอดวันก็ทำให้การผลิตไฟฟ้าใช้เองเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ และยังช่วยประหยัดค่าไฟภายในบ้านได้ โดยเฉลี่ย 3 - 4 เท่า หรือประมาณหน่วยละ 4.50 บาท
ประเทศของเรา
- โซลาร์เซลล์เป็นหนึ่งพลังงานทางเลือกที่ช่วยชาติได้ เนื่องมาจากสถานการณ์พลังงานในปัจจุบันที่ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ทำให้ต้องมีการนำเข้าไฟฟ้าจากต่างประเทศปีละหลายแสนล้าน แถมเมื่อผลิตแล้วใช้ไม่หมด สามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าฯ เพื่อเอาไปใช้หมุนเวียนต่อได้
โลกของเรา
- โซลาร์เซลล์คือแหล่งพลังงานสะอาดจากธรรมชาติ ผลิตโดยใช้แสงอาทิตย์ ใช้ได้อย่างไม่มีวันหมด และเป็นพลังงานที่สามารถนำมาใช้ได้โดยไม่กระทบสิ่งแวดล้อม เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูธรรมชาติ ทำให้โลกใบนี้น่าอยู่มากขึ้น
- เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ผลิตไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องอาศัยการเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงก่อให้เกิดการเผาก๊าซ CO2 น้อยตลอดอายุ
การใช้งาน
- พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่ไม่มีวันหมด
- พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ และเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย
- พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาสามารถผลิตไฟฟ้าและช่วยลดบิลค่าไฟฟ้าได้
- ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษสู่สภาพอากาศ (Zero emission)
โดยทั่วไป แผงโซลาร์เซลล์มีการรับประกันจากผู้ผลิตว่าสามารถใช้งานได้ถึงปีที่ 25 โดยประสิทธิภาพไม่ต่ำกว่า 80% ส่วนหลังจาก
ปีที่ 25 เป็นต้นไป ประสิทธิภาพจะลดลงตามอายุการใช้งานและการบำรุงรักษา
Inverter, Mounting structure, Protection device, DC AC cable, Monitoring system
Inverter: อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการแปลงกระแสไฟฟ้าตรง (DC) เป็นกระแสไฟฟ้าสลับ (AC) โดยอุปกรณ์ดังกล่าวมีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี ดังนั้นการใช้งานโซลาร์เซลล์ตลอดช่วงอายุแผง 25 - 30 ปี อาจต้องเปลี่ยน Inverter 2 - 3 ครั้ง
Mounting structure: โครงสร้างติดตั้งแผง
Protection device: อุปกรณ์ป้องกัน
DC AC cable: สายไฟ AC และ DC Monitoring system: ระบบมอนิเตอร์ตรวจวัดการทำงานระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์
ถ้าเป็นระบบ Off-grid ไม่ต้องจ่ายเงินให้การไฟฟ้าฯ แต่โดยทั่วไป ระบบผลิตไฟฟ้าโซลาร์จะเป็น On-grid ซึ่งยังเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงหรือภูมิภาคอยู่ ประกอบกับผู้ติดตั้งระบบฯ ผลิตไฟฟ้าได้แค่ช่วงกลางวัน แต่ยังคงอาศัยการซื้อไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฯ ในช่วงกลางคืน ดังนั้น ผู้ติดตั้งยังต้องจ่ายบิลค่าไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฯ อยู่
(เพิ่มเติมจากคำตอบ) กรมโรงงานอุตสาหกรรม คาดการณ์ว่าจากการประเมินปีที่เริ่มมีการติดตั้ง พ.ศ. 2545 - 2579 จะเกิดซากเซลล์สะสมประมาณ 7.5 แสนตัน (ปีที่เกิดซาก พ.ศ. 2560 - 2604) จึงได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทการจัดการซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์: เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cells) โดยมุ่งผลักดันการจัดตั้งโรงงานรีไซเคิลซากโซลาร์เซลล์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างคุ้มค่า รวมถึงได้วางแนวทางการบูรณาการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการจัดการซากเซลล์แสงอาทิตย์อย่างครบวงจร
(ข้อมูลจาก กองบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม) สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
(1) ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice) www.erc.or.th
(2) คู่มือสำหรับประชาชน: การขออนุญาตรื้อถอนอาคาร www.dia.go.th
(3) วิธีการจัดการกากอุตสาหกรรม www.diw.go.th
(4) รายชื่อผู้บำบัด/กำจัดแผงเซลล์แสงอาทิตย์
โดยทั่วไปจะใช้ค่า R/P ratio คือ การคำนวณประมาณการอย่างคร่าวๆ ว่าจะมีปิโตรเลียมคงเหลือให้ใช้ได้อีกกี่ปี โดยใช้สูตรคำนวณ คือ ปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้ว (Proven Reserves) หารด้วยอัตราการผลิตปิโตรเลียมต่อปี (Production) และมีหน่วยที่ได้เป็นหน่วยปี ประเทศมีกิจกรรมการสำรวจและลงทุนพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมอยู่ตลอดเวลา จึงทำให้มีปริมาณสำรองเพิ่มเติมชดเชยส่วนที่ผลิตไปอยู่ตลอดเวลาเช่นกัน ดังนั้น
ค่า R/P ratio สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ในปีต่อ ๆ ไป ข้อมูลจาก BP statistic review 2019 (ข้อมูล ณ ปี ค.ศ. 2018) ได้ระบุว่า R/P ratio ของน้ำมันดิบทั่วโลก = 50 ปี, R/P ratio ของก๊าซธรรมชาติ = 50.9 ปี, R/P ratio ถ่านหิน = 132 ปี
มีความเป็นไปได้หากการติดตั้งไม่ได้ถูกออกแบบอย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้น ควรใช้บริษัทที่ได้มาตรฐาน ก่อนการติดตั้งจำเป็นต้องมีวิศวกรสำรวจโครงสร้างอาคาร เพื่อทำการออกแบบให้เหมาะสมกับโครงสร้างและชนิดของหลังคา
การติดตั้งควรมีพื้นที่หลังคาพอให้สามารถเข้าถึงแผงได้ภายหลังเพื่อการซ่อมบำรุง
ผลิตได้ แต่ผลิตได้น้อยลง ระบบผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงจากดวงอาทิตย์ซึ่งแปรตามปริมาณแสงแดด หากดวงอาทิตย์ถูกเมฆบัง ระบบฯ ยังสามารถผลิตไฟฟ้าได้ตามสภาพแสง แต่อัตราการผลิตไฟฟ้าอาจลดลง โดยการที่ดวงอาทิตย์ถูกเมฆบังอาจทำให้ระบบฯ ผลิตไฟฟ้าได้น้อยลงเหลือเพียง 10 - 25% ของปริมาณที่ผลิตได้สูงสุง
เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น แผงมี Hot spot การติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน ขาดการดูแลซ่อมบำรุง ฯลฯ ควรใช้บริษัทที่ได้มาตรฐานในการติดตั้ง
การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนหลังคาจะไม่ทำให้ภายในอาคารร้อนขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคาร และลดการทำงานของระบบปรับอากาศได้อีกด้วย ทั้งนี้เพราะแผงโซลาร์เซลล์จะเป็นปราการแรกที่สัมผัสกับแสงอาทิตย์จึงสามารถช่วยกรองแสงส่วนหนึ่งได้ก่อนความร้อนและแสงจะส่องถึงหลังคาอาคาร
แหล่งข้อมูล: http://brandage.com/article/13930/Banpu
หากติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านจะใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทุกชนิดภายในบ้าน โดยเมื่อแผงโซลาร์เซลล์ให้กำเนิดไฟฟ้า จ่ายไฟให้กับอินเวอร์เตอร์ แปลงจากไฟกระแสตรง เป็นไฟกระแสสลับ ต่อกับระบบไฟฟ้าภายในบ้าน
ติดได้ทุกที่ที่มีแสงอาทิตย์ แต่ที่นิยมกันก็คือติดตั้งบนพื้นดิน บนหลังคา รวมถึงติดตั้งบนหลังคาจอดรถ (Car park), กันสาด (Canopy) และปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ติดตั้งบนน้ำ (Floating solar)
เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ควรหันแผงไปทางทิศใต้ มุมเอียง 10 - 15 องศา ควรหลีกเลี่ยงการหันแผงไปทางทิศเหนือหากไม่มี
ความจำเป็น ควรไม่มีร่มเงาต้นไม้ หรือสิ่งก่อสร้างบัง
แนวทางการเก็บภาษีตามหลักเศรษฐศาสตร์ คือเก็บจากผู้ที่สร้างภาระต้นทุนให้แก่ส่วนรวม (Externality) สำหรับกรณีโซลาร์เซลล์ เหตุผลที่อาจจะเก็บภาษีได้คือเรื่องขยะแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุแล้ว ซึ่งถ้าเอาไปกำจัดไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้มีการรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อม ดังนั้น ถ้ามีการบริหารจัดการเรื่องขยะโซลาร์เซลล์ตามที่กล่าวไปด้านบน (แนวทางของกระทรวงอุตสาหกรรม) ก็สามารถเก็บภาษีเพื่อมาเป็นทุนสำหรับการจัดการขยะโซลาร์เซลล์ได้
ส่วนการเก็บภาษีโซลาร์เซลล์ด้วยเหตุผลว่าโซลาร์เซลล์เพิ่มภาระให้แก่ระบบไฟฟ้า จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานยืนยันชัดเจนว่าโซลาร์เซลล์สร้าง Net cost (Benefit < Cost) ต่อระบบไฟฟ้า ซึ่งน่าจะเป็นไปได้ยาก
ผู้ที่ต้องการติดตั้งโซลาร์เซลล์ต้องปฏิบัติตามระเบียบฯ ของการไฟฟ้านครหลวงหรือภูมิภาค และทำเรื่องขออนุญาตเพื่อประเมิน
ความปลอดภัยในการติดตั้ง ทั้งนี้ ตามระเบียบฯ ภาคครัวเรือนสามารถติดตั้งได้ไม่เกิน 10 kW ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดหม้อแปลง
ที่ระบบผลิตฯ เชื่อมต่อ
สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น ๆ สามารถดูข้อมูลการเชื่อมต่อได้ที่เว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวงหรือภูมิภาค
กำลัง (หน่วยเป็น watt หรือ W), พลังงาน (หน่วย watt-hour หรือ Wh) กล่าวคือ พลังงานไฟฟ้า = กำลัง x เวลา ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น หากเราจะดูว่าอุปกรณ์ไฟฟ้ากินไฟฟ้าสูงสุดเท่าไร เราสามารถดูได้ที่ฉลากของอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งจะระบุเป็นหน่วย watt และหากเราอยากประมาณว่าเราต้องเสียค่าไฟในการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าตัวดังกล่าวเท่าไร เราสามารถนำ watt ของอุปกรณ์ไฟฟ้า คูณกับจำนวนชั่วโมงที่เราคิดว่าจะใช้งาน ก็จะได้พลังงานไฟฟ้าของอุปกรณ์ดังกล่าวออกมาเพื่อไปคูณกับอัตราค่าไฟฟ้า โดยอัตราค่าไฟฟ้านิยมระบุเป็น หน่วย/บาท หรือ kWh/บาท
ขนาดกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้า รวมถึงโซลาร์เซลล์จะระบุด้วยหน่วยกำลัง เช่น MW แต่กำลังการผลิตของโซลาร์เซลล์จะนิยมระบุเป็นกำลัง DC (ไฟฟ้ากระแสตรง) โดยมี p หรือ dc ห้อยท้าย เช่น kWp, kWdc
On-grid เป็นระบบผลิตไฟฟ้าโซลาร์ที่ยังต่อเข้ากับระบบส่งหรือจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ เนื่องมาจากการที่ระบบผลิตไฟฟ้าฯ ต้องขายไฟฟ้าเข้าระบบไฟฟ้า เช่น โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (Small Power Producer: SPP) หรือโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (Very Small Power Producer: VSPP) หรือเนื่องมาจากสถานที่ที่ติดตั้งระบบผลิตฯ แบบนี้สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้แต่ต้องการลดค่าไฟฟ้า
จึงตัดสินใจติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าโซลาร์
Off-grid หรือ standalone คือ ระบบผลิตไฟฟ้าโซลาร์ที่ไม่ได้ต่อเข้ากับระบบส่งหรือจำหน่ายของการไฟฟ้าฯ ส่วนใหญ่สถานที่ที่ใช้ระบบดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ที่ห่างไกล เช่น บนเกาะ บนภูเขา ซึ่งไฟฟ้ามักจะเข้าไม่ถึง เนื่องมาจากการสร้างระบบส่งไม่คุ้มค่า
ในการลงทุน ทั้งนี้ ระบบ Off-grid อาจมีอุปกรณ์เสริมเช่น แบตเตอรี่เพื่อเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซลาร์เซลล์ในช่วงกลางวันมาใช้ในช่วงกลางคืน