ความยุติธรรมด้านพลังงานในเเอฟริกา: ความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ของการเข้าถึงคนในพื้นที่

36. PJAfricaPowerJustice

สรุปประเด็นหลัก

  • ความขาดแคลนด้านพลังงานเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่ยั่งยืนของทวีปแอฟริกา
  • หลายประเทศในทวีปแอฟริกาได้นำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ ควบคู่ไปกับระบบการผลิตพลังงานที่มีอยู่เดิม

 

บทนำ

           เนื่องจากน้ำมันเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัดและมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศจึงหันมาให้ความสำคัญกับการแสวงหาแหล่งกำเนิดพลังงานใหม่ ๆ รวมถึงพลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  “แอฟริกา” เป็นหนึ่งในภูมิภาคที่กำลังเร่งสร้างความมั่นคงทางพลังงาน เพื่อให้สอดรับกับการเป็นทวีปที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงระดับต้น ๆ ของโลก ขณะเดียวกัน ก็กำลังประสบปัญหาวิกฤตพลังงาน โดยประชากรแอฟริกากว่าพันล้านคน หรือกว่าครึ่งของทวีปยังไม่มีไฟฟ้าใช้  

 

วัตถุประสงค์ของบทความ

           เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของรัฐบาลและประชาชนในทวีปแอฟริกาที่จะแก้ไขปัญหาความขาดแคลนด้านพลังงาน

 

แอฟริกาใต้กับพลังงานหมุนเวียน

           สำหรับแอฟริกาใต้ ถึงแม้จะไม่ประสบปัญหาขาดแคลนไฟฟ้า แต่รัฐบาลของประเทศที่มีประชากรประมาณ 50 ล้านคนแห่งนี้ ก็มีแผนจะเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนอีก 18 GW ภายในปี พ.ศ. 2563 โดยจะให้สัมปทานสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 2.4 GW ผ่านโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในแอฟริกาใต้มีต้นทุนที่สูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค การดำเนินการตามแผนข้างต้นจึงอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ซึ่งทางการแอฟริกาใต้ก็ได้หาทางออกไว้แล้ว โดยการนำเงินไปลงทุนเพิ่มในโครงการพลังงานหมุนเวียนของประเทศอื่น ๆ ในซัปซาฮารา 

 

ความยากจนด้านพลังงานของแอฟริกาทำให้ผู้คนยากจน

การจัดหาพลังงานไฟฟ้าที่ปลอดภัยและราคาไม่แพง เป็นอุปสรรคเรื้อรังต่อการหลุดพ้นจากความยากจนของเเอฟริกาใต้ 

 

           หากขาดการเข้าถึงแหล่งพลังงานสะอาด ประชากรกว่าครึ่งของแอฟริกาถูกบังคับให้ต้องหันไปใช้ชีวมวลเช่น ฟืนและถ่าน ซึ่งเป็นทางเลือกที่ไม่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและทำลายล้างสิ่งแวดล้อม คอขวดของภาคพลังงานและการขาดแคลนพลังงานมีค่าใช้จ่ายในภูมิภาค 2 – 4 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ต่อปี สิ่งนี้เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและการลงทุนที่ยั่งยืน

           ก่อนภาวะการขาดเเคลนด้านพลังงานของแอฟริกาจะยิ่งตอกย้ำความยากจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิงและผู้คนในพื้นที่ชนบท คนที่ยากจนที่สุดของแอฟริกา พวกเขาต้องจ่ายราคาพลังงานที่สูงที่สุดในโลก และในหลาย ๆ ประเทศยังไม่มีการเข้าถึงพลังงาน ทั้งที่จำนวนด้านประชากรศาสตร์ก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ 

           ยิ่งมีเทคโนโลยีที่เข้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วช่วยให้เกิดการปรากฏตัวของผู้มีอำนาจในแอฟริกาซึ่งเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคพลังงาน อำนาจผูกขาดของระบบสาธารณูปโภคของประเทศที่ปฏิบัติต่อผู้บริโภคก็เข้ามามีบทบาทในรูปเเบบอุตสาหกรรมมากขึ้น

           จะเห็นว่าการปฏิวัติพลังงานหมุนเวียนของแอฟริกากำลังเกิดขึ้นทั้งในและนอกกริด พลังงานแสงอาทิตย์ที่ผลิตกำลังให้บริการตลาดขนาดใหญ่และกำลังเติบโตของผู้ใช้พลังงานยุคใหม่ ‘รุ่นแรก’ ในขณะที่พลังงานที่สร้างขึ้นนั้นมีค่าเพียงเล็กน้อยในแง่กิโลวัตต์ แต่มันก็สามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คน พลังงานกริดมศักยภาพในการลดการแพร่ระบาดของการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ ขณะที่พลังงานแสงอาทิตย์นอกตารางยังมีศักยภาพที่จะถูกผลิตพลังงานเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ

           แอฟริกาใต้กลายเป็นผู้นำระดับโลกในด้านพลังงานหมุนเวียนด้วยพลังงานลม ซึ่งขณะนี้สามารถแข่งขันกับถ่านหินได้ในแง่ของราคา ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ได้แก่ เอธิโอเปีย เคนยา โมร็อกโก และรวันดา กำลังเป็นประเทศที่ดึงดูดการลงทุนขนาดใหญ่ในพลังงานหมุนเวียน 

 

เคนยาเปิดโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกา 

           เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 “เคนยา” ได้เปิดตัวโรงไฟฟ้าพลังงานลมที่ใหญ่ที่สุดของแอฟริกา โดยมีเป้าหมายใหญ่เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้า และทำให้บรรลุเป้าหมายที่ทะเยอทะยานของประเทศ ในเรื่องการใช้พลังงานสีเขียว 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2563

           ในรายงานของสำนักข่าว CNN ระบุว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักในนาม Lake Turkana Wind Power (LTWP) ซึ่งจะผลิตพลังงานประมาณ 310 เมกะวัตต์ ให้กับเครือข่ายพลังงานแห่งชาติ และจะเพิ่มการจ่ายกระแสไฟฟ้าของประเทศขึ้น 13 เปอร์เซ็นต์ เคนยาพยายามยกระดับขึ้นไปอีกครั้ง เมื่อเปิดเผยฟาร์มกังหันลม
ที่ใหญ่ที่สุดแห่งเดียวในแอฟริกา” ประธานาธิบดี Uhuru Kenyatta กล่าวในการเปิดตัวโครงการเมื่อวันที่19 กรกฎาคมว่า “ไม่ต้องสงสัยเลยว่าเคนยาจะเป็นผู้นำระดับโลกในด้านพลังงานหมุนเวียน”

           โครงการนี้ถือเป็นการลงทุนภาคเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเคนยา กลุ่มผู้ให้กู้มาจากหลายประเทศ รวมไปถึงธนาคารเพื่อการพัฒนาแอฟริกาได้ (African Development Bank) โดยมีกังหันทั้งหมด 365 ตัว ใบพัดกังหันลมมีความยาว 52 เมตร

           ในปีที่ผ่านมาเคนยามีความคืบหน้าอย่างมากในการลงทุนในแหล่งพลังงานสะอาด ตามรายงานสถานะพลังงานหมุนเวียนประจำปี 2018 ทั่วโลก ระบุว่า “เคนยา” อยู่ในอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีกำลังการผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพสูงถึง 700 เมกะวัตต์

           LTWP ของเคนยาไม่ได้เป็นเพียงโครงการพลังงานลมที่มีอยู่ในทวีปแอฟริกา ในภูมิภาคนี้ยังมีฟาร์มกังหันลมที่เปิดดำเนินการเต็มรูปแบบในโมร็อกโก เอธิโอเปียซึ่งมีฟาร์มกังหันลมสองแห่งผลิตกระแสไฟ 324 เมกะวัตต์ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของประเทศ 4,180 เมกะวัตต์ และแอฟริกาใต้มีฟาร์มกำลังลม 5 แห่ง ผลิตไฟเพิ่มถึง 645.71 เมกะวัตต์ ซึ่งทั้งหมดนี้ให้พลังงานอย่างยั่งยืนและสะอาด

           ข้อมูลจากรายงานสถานะพลังงานหมุนเวียนประจำปี 2018 ทั่วโลก ระบุว่าประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของกระแสไฟฟ้าของเคนยามาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานน้ำและพลังงานความร้อนใต้พิภพ บริษัทผลิตไฟฟ้าของรัฐ KenGen ผลิตไฟฟ้าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ของการใช้ไฟฟ้าในเคนยาและ 65 เปอร์เซ็นต์ มาจากแหล่งพลังงานน้ำซึ่งขายให้กับเคนยาพาวเวอร์ซึ่งเป็นบริษัทส่งไฟฟ้าหลักของประเทศ

           นี่จึงเป็นที่มาของโครงการ LTWP ซึ่งภาครัฐมีส่วนผลักดันและตั้งเป้าหมายที่จะพาประเทศไปสู่พลังงานสะอาดให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ภายในปี พ.ศ. 2563 หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จก็จะสามารถสร้างความมั่นใจต่อประชากรเคนยา ทั้งในด้านคุณภาพชีวิตรวมถึงสุขภาพที่ดีขึ้น

 

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในทวีปแอฟริกา 

           ทวีปแอฟริกาเป็นพื้นที่ที่มีแสงแดดมาก เหมาะแก่การติดตั้งโซลาร์เซลล์ แต่ด้วยอุณหภูมิที่สูงทำให้ประสิทธิภาพลดลง ทางการไฟฟ้าในทวีปแอฟริกาและประชากรชาวแอฟริกันต้องพยายามเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าให้ถึงที่อยู่ผู้อาศัย ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางความคืบหน้าของงาน ทำให้ประเทศยังไม่มีการพัฒนาในด้านของไฟฟ้า วิธีการปฏิรูปภาคพลังงานไฟฟ้าในทวีปแอฟริกาคือ การแก้ไขปัญหาโครงการด้านพลังงานไฟฟ้า หลายพื้นที่ที่ไม่มีการส่งผ่านพลังงานไฟฟ้า ต้องอาศัยเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเครื่องยนต์ดีเซลที่มีราคาแพง

           ประชากรจำนวน 1.5 พันล้านคน ต้องมีชีวิตอยู่โดยไม่มีไฟฟ้าในพื้นที่ชนบทของทวีปแอฟริกา ถ้าสร้างไฟฟ้าขึ้นทั้งหมดจะมีการผลิตที่มีเเหล่งกำเนิดเป็นไฟฟ้าดีเซล นับตั้งแต่การก่อตั้งของแหล่งจ่ายไฟส่วนกลางกับเครือข่ายของสายไฟที่กระจายไป ซึ่งใช้ไม่ได้ในเชิงเศรษฐกิจอีกทั้งยังมีราคาแพงเกินไป สะท้อนว่าระบบพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดหรือไม่ 

           นอกเหนือจากน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล โซลาร์เซลล์ที่ต้องอาศัยพลังงานแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่อง ราคาสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลอย่างในประเทศแทนซาเนียจะมีสูงประมาณหนึ่ง หนึ่งยูโรต่อลิตรคือราคาที่เทียบเท่ากับที่ในยุโรป รายได้ที่เข้ามาจะต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของดีเซลเเละน้ำมันดิบทำให้การรับมือกับราคาเป็นเรื่องหนักอย่างมากสำหรับหลายประเทศในแอฟริกาและเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท 

           พลังงานไฟฟ้าของทวีปแอฟริกาจะขึ้นอยู่กับการปฏิรูปนโยบายและการกำกับดูแลกิจการที่ดี การทำงานหรือร่วมมือกับรัฐบาลแอฟริกาจะเติมช่องว่างของทักษะที่สำคัญ และสร้างการมีส่วนร่วมและรักษาพลังงานสำหรับคนรุ่นต่อไป 

 

ทางเลือกในอนาคต: พลังงานสะอาด 

           รายงานเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2562 ของหน่วยภูมิอากาศพลังงานและสังคมที่สำนักงานใหญ่
(Stockholm Environment Institute: SEI) ในกรุงสตอกโฮล์ม ได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึก ระบุใจความว่า เเอฟริกาสามารถเข้าถึงความต้องการด้านพลังงานสะอาดได้เกือบหนึ่งในสี่ของพลังงานหมุนเวียน ดังนี้   

  1. สิ่งที่จำเป็นในการตระหนักถึงศักยภาพของพลังงานสะอาดในทวีปเเอฟริกา ไม่ใช่เพียงเเค่เรื่องเงิน
    ในการซื้อเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาจริง ๆ สิ่งที่ต้องตระหนักคือ ศักยภาพของท้องถิ่นในการใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น ซึ่งพวกเขาต้องได้รับการพัฒนาเพื่อให้สามารถปรับตัวใช้เทคโนโลยีให้เข้ากับบริบทท้องถิ่นของตนเอง ดังนั้น สภาพการเงินที่คล่องเเละการเข้าถึงของเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการมุ่งสู่
    การเปลี่ยนเเปลงเพื่อจะนำไปสู่การเปลี่ยนเเปลงอย่างเเท้จริง 
  2. งานด้านพลังงานของเเอฟริกาครอบคลุมหลากหลายมากตั้งเเต่ ก๊าซ ไปจนถึงกังหันลมเเละโรงไฟฟ้า พลังงานความร้อนใต้พื้นดิน เนื่องจากเเต่ละพื้นที่ของทั่วโลกมีเเหล่งพลังงานที่สำคัญที่เเตกต่างกัน นั่นจึงทำให้
    ภาคพลังงานมีความหลากหลาย เเต่ในประเทศที่กำลังพัฒนามีการพูดคุยเกี่ยวกับพลังงานมวลชีวภาพ เพราะบ่อยครั้งที่มีปัญหา พลังงานมวลชีวภาพจะเข้ามามีส่วนในการเเก้ไขโดยมีการประสานงานในหลายภาคส่วน 
  3. SEI มีการวางเเผนการติดตั้งพลังงานในปริมณฑลของประเทศเคนยา เเอฟริกา เเนวคิดคือ การยกเลิกการรวมศูนย์อำนาจด้านพลังงาน อาจจะยังไม่ชัดเจนว่า การวางเเผนพลังงานเป็นส่วนหนึ่งของ “การเปลี่ยนเเปลงพลังงาน” ที่พยายามทำให้มีเเนวโน้มที่จะผลิตคาร์บอนเข้มข้นไปสู่การผลิตคาร์บอนต่ำ เเต่สิ่งที่สำคัญต้องคำนึงถึงว่า ย่อมมีการเปลี่ยนเเปลงในมิติอื่น ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้มีการเข้าถึงพลังงานอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น

 

เครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ที่จะชโลมประเทศเคนยาให้ชุ่มไปด้วยการพัฒนา

           รายงานจากมาริมานติ ประเทศเคนยา (โดยองค์กรข่าวทอมป์สันรอยเตอร์) ระบุว่าความสามารถในการเข้าถึงน้ำประปาสะอาดถือเป็นอุปสรรคที่หมู่บ้านยากจนในบริเวณชายขอบในเคนยาจะต้องเผชิญ ชาวบ้านมองว่าปัญหานี้มาจากการขาดสาธารณูปโภคพื้นฐานที่พวกเขาควรได้รับ และรัฐบาลก็ขาดความเอาจริงเอาจังที่จะช่วยบรรดาชาวบ้านที่ตกทุกข์ได้ยาก

           แต่ตอนนี้ในบางเขตปกครอง เช่น ทารากา นิทิ (Tharaka Nithi) ซึ่งเป็นเขตที่ตามปกติแล้วขาดแคลนไฟฟ้าและเป็นเขตที่คาอารีอาศัยอยู่ ได้เริ่มใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการช่วยสูบน้ำจากแม่น้ำในละแวกใกล้เคียงเข้ามาที่หมู่บ้านก่อนจะมีการลำเลียงน้ำไปเก็บในถังเก็บน้ำประจำหมู่บ้าน และชาวบ้านสามารถมารับน้ำเพื่อนำไปใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

           แจสเปอร์ คันยา (Jasper Nkanya) กรรมาธิการบริหารเทศมณฑลฝ่ายเกษตรกรรม ประปา ชลประทานและการประมง ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า หมู่บ้านมีแม่น้ำที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงถึง 3 สาย แต่ชาวบ้านยังคงประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ความท้าทายจึงเป็นเรื่องของวิธีการที่ใช้เพื่อลำเลียงน้ำจากแม่น้ำมาใช้ในหมู่บ้าน

           คันยายังกล่าวต่อไปว่า หมู่บ้านนี้มีแสงอาทิตย์สาดส่องมากพอที่จะแปรเปลี่ยนมาเป็นพลังงาน และพวกเขาไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้มาก่อน แต่ไม่ใช่อีกแล้วในตอนนี้ แผงโซลาร์เซลล์มีประสิทธิภาพที่จะกักเก็บพลังงานที่สามารถนำไปใช้ในการสูบน้ำในเวลากลางวัน และยังมีการเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่ เพื่อใช้สูบน้ำในเวลากลางคืนได้อีกด้วย 

           เขาระบุว่า โครงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เพื่อสูบน้ำจากแม่น้ำใช้งบประมาณทั้งหมด 8 ล้านเคนยาชิลลิงหรือประมาณ 2 ล้าน 6 แสนบาทไทย ซึ่งเป็นการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น

           จากเนื้อข่าวเล่าว่า ชาวบ้านละเเวกนั้นรู้สึกว่าชีวิตของพวกเขาสะดวกสบายขึ้นมากหลังจากที่มีน้ำให้ใช้ในหมู่บ้านโดยที่พวกเขาไม่ต้องออกไปตักเอง โดยเฉพาะผู้หญิงทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ที่ปกติแล้ว พวกเธอจะต้องรับหน้าที่ออกไปตักน้ำเสมอ ผู้ประกอบอาชีพมอเตอร์ไซค์รับจ้างในมาริมานติบอกกับเเหล่งข่าวว่า บุตรสาวของเขาจำเป็นต้องขาดเรียนอยู่บ่อยครั้ง เพราะเธอและแม่ต้องเดินทางไปตักน้ำ แต่ตอนนี้ผลการเรียนของเธอดีขึ้นเพราะเธอไม่จำเป็นต้องหยุดเรียนอีกแล้ว เเละรัฐบาลตั้งใจจะขยายโครงการดังกล่าวไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของเขตการปกครองที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเช่นเดียวกัน โดยในตอนนี้อาจต้องรอให้มีงบประมาณเพิ่มเติมก่อน

 

จุดเปลี่ยนสำคัญ

           โจเซฟ โยโรเก (Joseph Njoroge) เลขานุการใหญ่จากกระทรวงพลังงานบอกว่า ธนาคารโลกได้สนับสนุนงบประมาณให้กับเคนยา โดยมีเขตการปกครอง 14 แห่งกำลังได้รับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์และการเข้าถึงน้ำประปาสะอาด โดยมีจุดประสงค์คือ เพื่อเร่งให้เกิดการพัฒนา อีกจุดประสงค์คือ การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการพัฒนาท้องถิ่นชนบทในเคนยา โดยเฉพาะการมีน้ำประปาสะอาด ไฟฟ้าและระบบทำความร้อน โดยโครงการดังกล่าวมีมูลค่า 150 ดอลลาร์สหรัฐ และเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2017

           เอมเบโอ โอเกยา (Mbeo Ogeya) นักวิจัยชาวแอฟริกันจากสถาบันสิ่งแวดล้อมสตอล์กโฮม (Stockholm Environment Institute) กล่าวว่า การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการสูบน้ำและการทำชลประทานจะกลายมาเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะทำให้เกิดทรัพยากรที่เพียงพอในถิ่นทุรกันดารของเคนยา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของพลังงานไฟฟ้าหรืออาหาร

           อีกทั้งในมาริมานติเองก็เริ่มเห็นผลดีที่เป็นรูปธรรมของการที่ชาวบ้านมีน้ำสะอาดไว้ใช้ อันเนื่องมาจากพลังงานแสงอาทิตย์แล้ว

           สภาพการปลูกบ้านแบบร่วมสมัยเริ่มเข้ามาแทนที่กระท่อมอยู่อาศัยที่มุงด้วยหญ้าคา ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านที่ยากจนมากที่สุดในเคนยา และการที่ชาวบ้านสามารถเข้าถึงน้ำประปาสะอาดได้สะดวกมากขึ้นยังก่อให้เกิดธุรกิจรูปแบบใหม่มากมาย สิ่งนี้เป็นผลมาจากภาระงานที่ผู้หญิงได้รับมีจำนวนน้อยลง

           ศูนย์การแพทย์ในหมู่บ้านก็มีน้ำประปาที่เพียงพอในกระบวนการทำคลอดทารก และบรรดาเยาวชนก็ไม่ต้องเสียโอกาสทางการศึกษา เพียงเพราะพวกเขาต้องเดินทางไปตักน้ำ

           สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า เคนยายังสามารถใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ได้อีกมาก พวกเขากำลังมองไปที่ศักยภาพที่มี อีกทั้งพวกเขาไว้วางใจและพร้อมที่จะพึ่งพาพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งพลังงานนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายพร้อมส่งเสริมธุรกิจ ทั้งในระดับย่อยและระดับกลางที่อยู่ตามพื้นที่ชนบทให้มีการเติบโตอีกด้วย

 

อนาคตที่ต้องปรับตัว: การใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงานแบบใหม่ควบคู่ไปกับระบบการผลิตพลังงานเเบบเดิม

           ข้อเท็จจริงที่ต้องยอมรับ คือ แอฟริกาเป็นทั้งทวีปที่มีไฟฟ้าน้อยที่สุดในโลกและมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด เป็นทวีปที่มีประชากรเติบโตเร็วที่สุดในโลก เเละมีการลงทุนจำนวนมากส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศไปสู่แหล่งพลังงานหมุนเวียน แต่ทั้งทวีปยังมีน้ำมันสำรองและก๊าซธรรมชาติที่ยังไม่ได้ใช้จำนวนมาก ซึ่งมีจุดประสงค์สำคัญที่ชาติมหาอำนาจต่าง ๆ เข้ามาช่วยเพื่อใช้ประโยชน์

           ปัจจุบันผู้ผลิตพลังงานรายใหญ่ที่สุดของแอฟริกาคือประเทศแอฟริกาใต้ กำลังเผชิญกับความลำบากใจเพิ่มขึ้นจากการย้ายออกจากโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินซึ่งผลิตพลังงานเกือบทั้งหมด ซึ่งเป็นหนึ่งในเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุดและสร้างความเสียหายต่อสุขภาพของคนที่อาศัยอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้า

           ประชากรมากกว่าสองในสามของแอฟริกาในซับซาฮารามากกว่า 600 ล้านคนขาดไฟฟ้าเข้าถึง แต่การใช้พลังงานไฟฟ้าในทวีปนั้นยังคงเติบโตช้ากว่าที่อื่นในโลก 

           การลงทุนจะเข้าสู่โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และโครงการไฟฟ้าพลังน้ำทั่วทั้งทวีป จึงเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเปลี่ยนพลังงานผสม 

           เมื่อปีที่แล้วเคนยาได้เปิดตัวฟาร์มกังหันลมที่ใหญ่ที่สุดของแอฟริกาใกล้กับทะเลสาบ Turkana มากกว่า 350 กังหัน สามารถผลิตไฟฟ้าได้มากถึง 310 เมกะวัตต์หรือประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ของความต้องการพลังงานในเวลากลางวันของประเทศ เคนยาหวังว่าจะผลิตพลังงานทั้งหมดผ่านแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2563 แต่บริษัทของจีนก็ตั้งเป้าที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินบนชายฝั่งของเคนยา โดยเน้นที่แผนการของประเทศที่จะมีการผสมผสานพลังงาน ขณะนี้การก่อสร้างโรงงานใน Lamu ได้ถูกระงับไว้ตามกฎหมาย

           จะพบว่าแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากที่สุดในทวีปแอฟริกา ได้ทำการลดกำลังไฟลงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายปี นอกจากนี้ยังดิ้นรนที่ออกจากการพึ่งพาถ่านหิน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานราคาถูกสำหรับประเทศ มีโครงการพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ แต่โครงการเหล่านี้ไม่ได้ผลิตพลังงานมากพอ 

           ปัญหาของรัฐบาลคือ ความต้องการที่จะอนุรักษ์การจ้างงานในภาคเหมืองถ่านหิน ในขณะเดียวกันก็ต้องรื้อถอนโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง ถ่านหินจะให้ความต้องการพลังงานจำนวนมากในแอฟริกาใต้อย่างน้อยในทศวรรษหน้าตามแผนของรัฐบาล หวังว่าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดจะสามารถช่วยลดการปล่อยมลพิษแต่ประเทศยังไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อให้งานนี้เกิดขึ้นได้

           มีเทคโนโลยีที่มีศักยภาพหลากหลายเพื่อผลิตถ่านหินที่สะอาดกว่า สิ่งที่พบได้บ่อยที่สุดคือการดักจับและการจัดเก็บคาร์บอน นี่คือการจัดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากการเผาไหม้ถ่านหินและจัดเก็บไว้ใต้ดิน ฟังดูง่ายแต่กระบวนการในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้และการติดตั้งเพิ่มเติมที่โรงไฟฟ้าเก่านั้นใช้เวลานานและมีราคาแพง โรงงานแปรรูปมีราคาแพงมากและบำรุงรักษายากในระยะยาว 

           ในขณะที่หลายสิบประเทศในแอฟริกากำลังก้าวไปข้างหน้าด้วยแผนการที่จะเพิ่มแหล่งพลังงานหมุนเวียน พวกเขาไม่เพียงพอที่จะเติมเต็มช่องว่างในแหล่งพลังงานไฟฟ้าของพวกเขาได้ วิธีแก้ปัญหาคือ การรักษาอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งนี้ วิธีการของพวกเขาคือ การใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงานแบบใหม่ควบคู่ไปกับระบบการผลิตพลังงานที่มีอยู่เดิม

 

การยุติความยากจนด้านพลังงานโลก – จะทำให้ดีกว่าได้อย่างไร 

           จากวิสัยทัศน์ของ UN SDG 7 ที่ระบุว่า “ทุกคนต้องเข้าถึงพลังงานราคาไม่แพง เชื่อถือได้ ยั่งยืน และทันสมัย” ภายในปี พ.ศ. 2573 จากวิสัยทัศน์เช่นนี้ ดูเหมือนจะมีความสำคัญในพื้นที่เเอฟริกาใต้ ประกอบกับระบบพลังงานที่มีลักษณะรวมศูนย์ของแอฟริกายังเป็นประโยชน์ต่อทั้งคนรวยและคนจน พวกเขาส่วนใหญ่ underpowered ไม่มีประสิทธิภาพและไม่เท่ากัน การจัดหาพลังงานไฟฟ้าที่ปลอดภัยและราคาไม่แพงเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตการสร้างงานและการลดความยากจน

           ความท้าทายหลักในการยุติความยากจนทางพลังงานไม่ใช่วิธีการผลิตพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเเต่ควรเป็นนโยบายที่ปรับทิศทางส่งมอบพลังงานถึงผู้ที่ต้องการมากที่สุด การเร่งการผลิตไฟฟ้าอย่างรวดเร็วท้ายที่สุดเเล้วการเข้าถึงพลังงานที่เป็นธรรมต่อผู้ที่ต้องการจริง ๆ อาจไม่ได้ผล เเละสิ่งที่ประเทศเหล่านี้กำลังเเก้ไขอยู่ เช่น 

  1. การเข้าถึง: ทุกคนบนโลกสมควรได้รับแสงและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บ้าน แต่ไฟฟ้าในที่พักอาศัยมีสัดส่วนเพียง 5 เปอร์เซ็นต์ของการใช้พลังงานทั่วโลกและหนึ่งในสี่ของการใช้ไฟฟ้าทั่วโลก พลังงานส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรม การค้า เกษตรกรรม และการขนส่ง ดังนั้น จึงต้องติดตามว่าอะไรเป็นสาเหตุที่พลังงานที่ต้องเข้าถึงครัวเรือนขั้นพื้นฐานจึงไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนพลังงานได้
  2. การพัฒนาอย่างยั่งยืน: วิธีพลิกจะเป็นโอกาสให้กับสิ่งที่ชาวแอฟริกันต้องการ สำหรับหลาย ๆ คน
    ความยั่งยืนหมายถึงการส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์และลม ในอนาคตของแอฟริกาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทคโนโลยีดีขึ้นและราคาลดลง แต่เป้าหมายไม่ควรปรับใช้โซลูชันเทคโนโลยีให้ได้รับความนิยม เปรียบเทียบกับ
    การขนส่งอย่างจักรยานควรราคาถูก สะอาด และมีประสิทธิภาพในการเดินทาง แต่ก็ยังไร้ประโยชน์ในการขนส่งสินค้า ดังนั้น ถึงอย่างไรระบบการขนส่งที่ทันสมัยมีโซลูชั่นที่แตกต่างตรงกับความต้องการที่หลากหลาย เรื่องพลังงานก็เช่นกัน

           อีกเรื่องที่น่าสนใจคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความจริงคือ ภาคพลังงานของแอฟริกาไม่ได้เป็นปัจจัยในการลดการปล่อยก๊าซทั่วโลก ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดของทวีป (ประมาณ 500 ตันต่อชั่วโมง) เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณการเติบโตทั่วโลกของสภาพภูมิอากาศพลังงานในแอฟริกามีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการปรับตัว

           จึงน่าจับตามองว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืนในแอฟริกา ต้องหมายถึงการเตรียมที่ต้องพัฒนาขณะเดียวกันก็ต้องพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่รุนแรง อุณหภูมิที่สูงขึ้น และภัยแล้งที่รุนแรงขึ้นทุกปี

 

บทสรุป

           แอฟริกาเป็นทวีปที่ประสบกับปัญหาขาดแคลนพลังงาน ส่งผลให้ประชาชนในทวีปมีภาวะยากจนและมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีนัก รัฐบาลของหลายประเทศในทวีปแอฟริกาจึงพยายามแก้ไขปัญหาโดยการใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงานแบบใหม่ควบคู่ไปกับระบบการผลิตพลังงานที่มีอยู่เดิม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในขณะที่ยังสามารถรักษาอัตราการจ้างงานไว้ได้

 

อ้างอิง

Caroline Kende-Robb. (2016).  Africa’s energy poverty is keeping its people poor. From https://www.weforum.org/agenda/2016/09/africa-s-energy-poverty-is-keeping-its-people-poor

Aisha Salaudeen. (2019).  Kenya launches largest wind power plant in Africa. From https://edition.cnn.com/2019/07/20/africa/africas-largest-wind-farm-intl/index.html?

เจ้าของร้าน. (2560).  การติดตั้งโซลาร์เซลล์ในทวีปแอฟริกา. จาก http://www.thailedsolar.com/article/18/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2

Andrea Lindblom. (2019).  Tapping into potential: energy transitions in Africa. From https://www.sei.org/featured/energy-transitions-in-africa/?fbclid=IwAR0RMn9hW8xFwYjkSW8gGF91ILMhYDbEHcnj20VzHbK36veXvVaK7f2LXpw

Kagondu Njagi. (2019).  Solar-pumped water slakes rural Kenya’s thirst for development. From https://www.reuters.com/article/us-kenya-solar-water/solar-pumped-water-slakes-rural-kenyas-thirst-for-development-idUSKCN1OY0DH

KSPfilms. (2563).  แอฟริกากำลังเผชิญปัญหาเรื่องพลังงานสะอาด. จาก https://intrend.trueid.net/article/%E0%B9%81%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%94-trueidintrend_72114

Abdi Latif Dahir. (2019).  Africa’s largest wind power project is now open in Kenya. From https://qz.com/africa/1671484/kenya-opens-africas-largest-wind-power-project-in-turkana/

Todd Moss. (2019).  Ending global energy poverty – how can we do better?. From https://www.weforum.org/agenda/2019/11/energy-poverty-africa-sdg7/